บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวคิค ทฤษฎี ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ของ Rick Warren

Rick Warren นักเขียนหนังสือชื่อดังและเป็นศาสนาจารย์อาวุโสทางคริสต์ศาสนาได้พยายามนำหลักการของทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับหลักการ 7 ประการที่ได้มาจากที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ มาสร้างต้นแบบของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สามารถก่อให้เกิด “พลังการทำงานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ หรือ Synergy of energy”

หลักการ 7 ประการของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดพลังการทำงานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ (Seven Principles of Transformational Leadership…Creating A Synergy of Energy) มีแนวคิดดังนี้

หลักการที่ 1 : หลักการ “ทำให้เป็นเรื่องง่าย” (Principle of Simplification)
ต้องมีความสามารถทำวิสัยทัศน์ให้เกิดความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้

หลักการที่ 2 : หลักการ “การจูงใจ”(Principle of Motivation)
ต้องมีประสิทธิผลสูงในการทำให้ผู้อื่นเห็นด้วยยอมรับ และเกิดความยึดมั่น ผูกพันขึ้น

หลักการที่ 3 :หลักการ “การเอื้ออำนวยความสะดวก” (Principle of Facilitation)
ต้องมีความสามารถในการเอื้ออำนวยการ เรียนรู้ ของบุคลากรเป็นรายบุคคล เป็นทีม และผู้ที่เป็น ทรัพยากรอื่นๆขององค์กรได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ

หลักการที่ 4 : หลักการแห่ง “การริเริ่มสิ่งใหม่” (Principle of Innovation)
ความสามารถของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเรื่อง ยาก ๆ ได้สำเร็จและมีประสิทธิผล

หลักการที่ 5 : หลักการ “ด้านการขับเคลื่อน” (Principle of Mobilization)
ความสามารถของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในการระบุ ปัญหา การจัดปัจจัย และการมอบอำนาจการ ตัดสินใจแก่ผู้ปฏิบัติ
ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์

หลักการที่ 6 : หลักการเตรียมความพร้อม (Principle of Preparation)
ความสามารถของผู้นำที่จะไม่หยุดการเรียนรู้ไม่ว่ามีหรือไม่มีใครช่วยเหลือก็ตาม

หลักการที่ 7 : หลักการแห่ง “การสิ้นสุด” (Principle of Determination)
ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงต้องรู้จักพอและ รู้ว่าเมื่อไรควรหยุด

ด้วยเหตุนี้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาสภาพจิตใจ อารมณ์และสุขภาพกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีพลังใจที่แน่วแน่และยึดมั่นต่อภารกิจที่เป็นพันธะผูกพันอันยากลำบากนั้นให้สำเร็จจงได้ต่อไป

ท่าน พร้อม ที่จะเรียนรู้......และพร้อมที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง?
เรามาเริ่มต้น....ที่จะพัฒนาองค์กรของเราด้วยการ....ยอมรับ และเรียนรู้ด้วยกัน....



" ผู้นำไม่ใช่ผู้ที่จะนำคนอื่น แต่คือผู้ที่สามารถทำให้คนอื่นคล้อยตามด้วยศรัทธา ให้เขาฟังเรา ฟังความคิดอ่านของเรา ให้เขาอยากเดินตามเรา"

ผู้นำยุคใหม่ (เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งดำเนินชีวิต)
- learn to think เก่งคิด
- learn to learn (long life Education) เก่งดำเนินชีวิต
- learn democracy way เก่งงาน
- learn to know participation เก่งคน
- learn to manage the emotion เก่งต่อการอดกลั้น ควบคุมอารมณ์ตนเอง





ผู้นำชั้นยอด: นำผู้อื่นเพื่อให้นำตนเอง

แมนซ์ และซิมส์ (Manz and Sims,1991) ได้นำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับภาวะผู้นำที่เรียกว่า ทฤษฎีผู้นำชั้นยอด (Super leadership Theory) ซึ่งมีแนวคิดหลักเชิงพฤติกรรม ว่าของผู้นำว่า
ผู้นำชั้นยอด คือ ผู้นำที่นำคนอื่นเพื่อให้คนอื่นสามารถนำตนเองได้ โดยผู้นำทำตนเป็นผู้สอนและแนะนำให้ลูกน้องเกิดการพัฒนากรอบความคิดเชิงเหตุผล และสร้างสรรค์ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองจนมีความมั่นใจ มีความเป็นอิสระในตน จนมีความเป็นผู้นำเกิดขึ้นในตนเอง

ผู้นำชั้นยอดจะใช้วิธี บันดาลใจผู้อื่น (inspiration) ให้เขาจูงใจตนเอง และเมื่อเขาสามารถนำตนเองได้(self- directing) คนเหล่านี้แทบจะไม่มีความต้องการได้รับการควบคุมจากภายนอก ( external control) แต่อย่างไร


แนวคิดเกี่ยวกับ ผู้นำชั้นยอด กำหนดให้ผู้นำต้อง มีความกล้าเสี่ยงกับคน จะต้องเชื่อว่า ถ้าเปิดโอกาสให้เขานำตนเองแล้ว ( self- directing) คนก็จะพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพสูงสุดที่เขามีและจะทำงานนั้นด้วยด้วยตนเองอย่างได้ผลดีสูงสุดเช่นเดียวกัน

กุญแจที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำชั้นยอด คือ

การมี “ความสามารถในการสอน และ ให้กรอบความคิดที่ถูกต้อง ”( right thought pattern ) แก่สมาชิก

แมนซ์ และ ซิมส์ ได้แนะนำวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสร้างหรือเปลี่ยนกรอบความคิดในแนวทางที่พึงประสงค์ ได้แก่
1.การไม่มีสมมุติฐานหรือความเชื่อเชิงทำลาย(No destructive beliefs and assumption)
2. พูดในเชิงบวกเกี่ยวกับตนเอง ( positive self-talk) และ
3..มีวิสัยทัศน์การปฏิบัติงานที่สัมฤทธิ์ผล ( Visualization of effective performance)

ผู้นำและบุคคลทั่วไปสามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ด้วยตนอง โดยการเสริมสร้างเจตคติและพฤติกรรมของตนเอง ดังต่อไปนี้….


1. ค้นหาให้พบและหาทางปรับปรุงสมมุติฐานหรือความเชื่อเชิงทำลายที่ตนมี
( Identification and replacement of destructive beliefs and assumption) โดยการค้นหาจุดอ่อนความคิดเชิงลบของตนแล้วทดแทนที่ด้วยมุมมองและทัศนะใหม่ที่เป็นแง่บวก
2. ใช้วิธีการพูดในเชิงบวกเกี่ยวกับตนเอง ( positive and constructive self-talk) ความคิดด้านลบสามารถเปลี่ยน เป็นด้านบวกได้
3.สร้างความสามารถในการมองเห็นวิธีต่างๆในการทำงานอย่างมีประสิทธิผล( Visualization of methods for effective performance)

คุณสมบัติสำคัญของผู้นำ ......ที่พึงมี
- ชอบสร้างจินตนาการ
- ไม่ละความพยายามในการค้นหาวิธีใหม่ๆ ที่ท้าทาย
- ทำให้เกิดทางเลือกในการทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้นหลายทาง
- ความสามารถสร้างมุมมองที่ตรงกับความเป็นจริง จะช่วยให้บุคคลนั้นเกิดความมั่นใจในขีดความสามารถและความมีประสิทธิผลของตน

โดยสรุป ผู้นำชั้นยอด จะช่วยสร้างเงื่อนไขให้กับสมาชิกทีมงานของตนให้สามารถทำงาน ได้สำเร็จโดยปราศจากผู้นำดูแล
ด้วยการส่งเสริมให้คนพัฒนาตนเองเองให้เป็น ผู้นำของตนเอง

ดังนั้น การบรรลุเป้าหมาย คือ การสร้างผู้นำขึ้นมาเป็นทีมงาน ที่มีวิธีการบริหารจัดการแบบ “การบริหารตนเอง” (self-management) หรือการนำตนเอง ( self- directing) ให้มากยิ่งขึ้น